วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555

การเลือกซื้อแอมป์พลิฟายด์


      ไม่ได้เขียนอะไรที่เป็นประโยชน์มานานแล้วครับ ฮ่า ฮ่า ช่วงปีสองปีหลังนี่ ผมได้สัมผัสและได้ความรู้ต่างๆ ในเรื่องamplifier เยอะมากๆ จากพี่ๆ น้องๆ หลายๆ ท่าน และได้รับประสบการณ์ตรงจากตัวเองก็มี ... ทั้งได้รับคำแนะนำและ ได้แจกจ่ายประสบการณ์ก็หลาย ผมย่อยสลายข้อมูลแล้วก็เห็นว่า น่าจะเอามาเขียนเป็นประสบการณ์ให้อ่านกันเล่นๆ ครับ ไม่บังอาจจะเรียกว่าแนะนำ นะครับ แค่เอาประสบการณ์มาแจกจ่ายกันให้ฟังหนุกๆ ก็แล้วกัน ... บางส่วน ผมก็ไปอ่านมากจากหลายๆ เวปของฝรั่งเขา แล้วประมวลอันที่เข้าท่าและใช้ได้จริงแหละครับ ผมเชื่อว่ามันคงประโยชน์มั่งแหละเนอะ ..


      ก่อนจะเลือกซื้อแอมป์ ... เรามาทำความรู้จักไอ้เจ้า Amplifier นี่ก่อนละกัน ว่ามันมีกี่ชนิด และ แบ่งแยกชนิดของมันยังไงมั่ง ... ข้อมูลเหล่านี้ผมก็แยกแยะตามประสบการณ์หล่ะครับ ถ้าพี่ๆ น้องๆ เห็นว่าไม่ถูกต้อง ก็กรุณาแย้งได้ตามสะดวกนะครับ ...


1. แบบแรก ... เราคุ้นเคยกับเขามากๆ ครับ เรียกว่า Solid - State (โซลิต สเตท) ... เขาเป็นแอมป์พลิฟายด์ที่ทั้งภาคเพาเวอร์ และ ภาคปรีแอมป์ ใช้ทรานซิสเตอร์ทั้งหมด วงจรล้วนๆ ทนทานนานปี เสียยาก และ ถ้าเป็นแอมป์ประเภทที่มี ภาคดิสทรอชั่น จะให้เสียงแตกแรงได้เยอะกว่ากลุ่มแอมป์หลอด

ที่ได้เห็นกันบ่อยๆ เลยก็เช่น
Marshall MG Series
Fender FM Series
Kustom Dual Series
Hiwatt Maxwatt Series

เป็นต้น ..


2. เรายิ่งคุ้นเคยกันมากกว่าอีกบ้านเรา เรียกกันบ้านๆ ว่า "แอมป์หลอด" ฝรั่งเรียกว่า Tube Amp สำหรับ US และ Valve Amp สำหรับ UK เรียกกันแล้วแต่ชอบละกันเพราะมันมีความหมายเหมือนกันครับ ... ที่เรียกว่าแอมป์หลอด เนี่ย เพราะว่าทั้งภาคเพาเวอร์ และ ปรีแอมป์นั้นใช้หลอด (Tube/Valve) หลอดแต่ละชนิด แต่ละยี่ห้อก็จะให้เสียงแตกต่างกันไป ... บ่อยครั้งที่เราจะได้ยินคำว่า EL34 - 6L6 - KT66 หรือ 12AX7 - 12AT7 พวกนี้ เป็นเบอร์ของหลอดทั้งนั้น ... แอมป์ชนิดหลอด เป็นที่นิยมมากๆ เพราะว่า เขาให้ซาวด์ที่อุ่นกว่า อ้วนหนากว่า และ แต่ละโน๊ตฟังดูมีเนื้อมีหนังเป็นเม็ดๆ กว่า Solid State แอมป์ ... แต่ความบอบบางมีมากกว่า ต้องมีการดูแลเป็นระยะๆ ครับ มีเยอะมากๆ ให้เลือกทั้งแบบ Mass และ Boutique ... เดี๋ยวเรื่อง Boutique Amp เนี่ย ผมจะไปเจาะลึกกันอีกซักภาคละกันนะ ... เอาเท่าที่จำได้ตอนนี้ก่อนละกันเช่น

Fender Pro Tube Series
Marshall JCM Series/JVM/Vintage-Modern
ENGL Powerball/Fireball etc
Bogner Shiva/XTC/Uberschall etc
Two Rock Custom Rev 
Cornell Custom 40/80

ในกลุ่มพวกนี้ เป็นแอมป์หลอด ทั้งน๊านน์




3. เราได้ยินกันมามั่งครับปรกติ เราจะเรียกทับศัพท์กันไปว่า Hybrid Amplifier ... บางท่านก็อาจจะไม่เข้าใจว่าอะไรคือ Hybrid ก็อธิบายกันง่ายๆ ว่าเป็นแอมป์ลูกผสมโดยส่วนใหญ่ ... ภาคเพาเวอร์จะเป็น Solid State และ ภาคปรีแอมป์จะขับด้วยหลอด (Tube/Valve) ... ง่ายๆ แค่นี้เองครับ ... ที่เราคุ้นเคยกันมากๆ ก็ประมาณ:

Marshall AVT Series
Kustom HV Series
Vox Valvetronix (แต่ไอ่เจ้านี่มันจะคาบเกี่ยวกับอีกชนิดนึงด้วยนะ)

4. แบบสุดท้าย ที่พบเห็นบ่อยๆ ในตลาด และเป็นที่นิยมมากๆ หลังช่วงปี 2000 มา เจ้าพ่อตลาดนี้ ต้องยกให้ Line6 ครับ เรากำลังพูดถึงแอมป์ที่เรียกกันทับศัพท์อีกว่า Modelling Amplifier ... เขาก็คือแอมป์พลิฟายด์ที่มีดิจิตอลโพรเซสเซอร์คำนวนและสร้างสรรค์เสียงให้ออกมาแบบแอมป์แบรนด์ และ รุ่นต่างๆ ที่ถูกจำลองไว้ .. ส่วนใหญ่ ก็เป็นแอมป์ดังๆ ในอดีตทั้งนั้นหล่ะครับ ที่ชัดๆ ก็จะมีจำลอง JCM800 - Mesa Rectifier - Blackface พวกนี้เห็นเยอะมากๆ ... แอมป์ประเภทนี้จะใช้งานง่ายและร่วมกับพวกดิจิตอลเอฟเฟคต์ภายในแอมป์ และเด่นๆ
ก็คือจะสามารถโปรแกรมได้ สะดวกต่อการเรียกมาใช้งาน ข้อด้อยก็คือซาวด์ที่ได้จะเป็นดิจิตอลและมิติน้อยครับ ที่เราเห็นบ่อยๆ ก็คือ

- Line 6 Spider
- Line 6 Plextone Series พวกนี้แหละ ..

ผมเกริ่นไว้นิดๆ กับ Vox: Valvetronix ไอ้เจ้านี่เป็นการแก้ให้ซาวด์ของ Digital มีความอิ่มเอมขึ้น เพราะว่าเขาใช้เทคโนโลยี่ Hybrid Amp ผสมกับ Modelling Amp ปัจจุบันนี้ นอกจาก Vox แล้ว Line6 ก็มีผลิตออกมา แต่ Line 6 จะพัฒนาเยอะกว่าเพราะว่าทั้งภาคเพาเวอร์ และ ภาคปรีเป็นหลอดทั้งหมด ... รุ่นนั้นเรียกว่า Spider Valve และได้ Mr.Reinhold Bogner มาช่วยดีไซน์แอมป์ให้ผสมกันได้แบบนี้ ...

ผมก็แยกประเภทแอมป์มาให้รู้จักกันคร่าวๆ สี่ชนิดหล่ะครับ ...

อ้อ ส่วนที่เราเรียกแอมป์ว่า Combo หรือ Stack มันแตกต่างกันแบบนี้ครับ:

Combo เนี่ย มันย่อมาจาก Combination ครับ ก็คือการที่รวมเอาแอมป์กับลำโพงอยู่ในตู้เดียวกัน ... ส่วนการใช้แอมป์ที่แยกกันระหว่างแอมป์ กับ ลำโพงจะเรียกกันแบบชาวเราว่า Stack (สแตคค์) หรือ ได้ยินกันในบ้านเราว่า "หัวเทิร์น"

ไว้ว่างๆ มาต่อภาคสองกันคราวหน้าครับ .. !!


(เขียนลง www.guitarthai.com ไว้เมื่อปี 2008)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น