วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Bondi : Sick As Overdrive


ช่วงนี้มีอะไรให้ได้ลองเล่น ลองทดสอบกันเยอะจริงๆ วันนี้เพิ่งได้รับก้อนนี้มาเทสต์หมาดๆ ผมเคยเห็นก้อนนี้อยู่แว่บๆ ตามบอร์ดของฝรั่งใน The Gear Page เข้าใจว่าเป็นแบรนด์ใหม่ที่เพิ่งลงตลาดเอฟเฟคต์ก้อนเมื่อไม่นานมานี้เอง (เช็คล่าสุดออกมาเมือปี 2012 นี่เอง) แบรนด์ที่ว่านี้ชื่อ Bondi Effects (น่าจะอ่านว่า บอน-ได นะครับ) และแบรนด์นี้มีเอฟเฟคต์แค่รุ่นเดียว ณ ตอนนี้ มีชื่อรุ่นแปลกๆ ว่า Sick As Overdrive





Sick As Overdrive มีหน้าตาที่ทำให้ผมนึกถึงเอฟเฟคต์ก้อนชื่อดัง Klon Centaur และฝรั่งก็นิยมเอาไปเปรียบเทียบกันเสียด้วย แต่สีสรรพ์ของ Sick As Od มันดูสดใสน่ารักกว่า เจ้าตัวนี้มีปุ่มควบคุมอยู่ 4 ปุ่มคือ Level ควมคุมความดัน Bass ควบคุมย่านเสียงต่ำ Treble ควบคุมย่านเสียงแหลม และ Gain ควบคุมจำนวนเสียงแตก พร้อมกับมีอีก 1 toggle switch ซึ่งเป็น internal voltage change จาก 9v ไปเป็น 18v


ผมทดสอบ Sick As Overdrive ด้วยกีตาร์ Gibson Les Paul Standard (ติดตั้ง Tom Holmes H450/H455 Pickups) สิ่งแรกที่ชื่นชอบคือช่วงกว้างของ Gain มีให้เยอะมากๆ คุณสามารถปรับเจ้านี่ให้เป็น Clean Boost ใสๆ หรือจะปรับให้เป็น Light Overdrive ได้ (อันที่จริงที่เค้าว่ามันคล้ายๆ Klon Centaur นี่มันก็มีส่วนนิดหน่อยครับ ในกรณีที่คุณใช้เค้าเป็น Clean Boost หรือ Light Overdrive  ที่มีความ Brown นิดๆ) หรือจะปรับไปเป็น Mid Gain Overdrive ใช้เป็นแตกหลักเลยก็ยังได้ เพราะให้มาเหลือเฟือจริงๆ อีกจุดที่ผมชอบคือเรื่องของความสดใสของเสียงครับ ฟังไม่ขุ่น ไม่มัว EQ Bass Treble ก็ช่วยได้มาก เหมือนพอเร่ง Treble ไปนิดๆ Gain จะวิ่งตามนิดๆ สำหรับคนที่ชอบความแผดๆ แซ่บๆ น่าจะต้องมาลองเลยหล่ะครับ Sick As Overdrive ไม่ได้ติดตั้ง True Bypass มาแต่เป็น Buffer แบบ Soft Touch ซึ่งกดแล้วละมุนกับเท้ามากกว่า (ถ้าคุณเล่นแบบไม่ใส่รองเท้า รับรองไม่เจ็บ) แต่ไม่ได้ทำให้สัญญาณเสียไปแต่อย่างใด นานๆ จะได้เจอกับ Overdrive ที่ค่อนไปทางครบเครื่องแบบนี้ อยากให้ได้ลองกันครับ

**Bondi Effects นำเข้าโดยร้านออนไลน์ที่ชื่อ Guitar Passion Thailand**


วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Red Rock Overdrive


เมื่อราวๆ ต้นปีที่ผ่านมา ทางบริษัท Providence Effectors ได้ออกผลิตภัณท์ใหม่ออกมาเป็น Overdrive/Distortion ตัวใหม่ ที่มีคอนเซปท์ย้อนยุค คือมีการควบคุมคล้ายๆ แอมป์สไตล์ Marshall ในยุค Master Volume เลย เป็นอย่างไรนั้นเดี๋ยวผมจะค่อยๆ เล่าให้ฟังครับ จะว่าไป Providence ถึงแม้จะเสีย Yuki Hayashi ที่ลาออกไปทำบริษัทของตัวเองแล้ว ก็ยังไม่หมดไอเดียที่จะทำก้องเจ๋งๆ ออกมา Red Rock Overdrive นี้เป็นตัวอย่างที่ดี ที่ทาง Providence พยายามจะต่อยอดให้กับก้อนอื่นๆ ที่เคยทำออกมาแล้วด้วยซ้ำ

Red Rock Overdrive มากับกล่องสีออกส้มๆ แดงๆ ดูแล้วไม่ Red ซะทีเดียว มีปุ่มควบคุม 3 ปุ่มคือ Master - Tone - Gain และมีเพิ่มมาอีกสองติ่งคือ Volume และ Fat Switch ที่ผมเกริ่นไว้ว่าเค้าออกแบบมาให้คล้ายกับแอมป์ยุค Master Volume ก็คือการที่มี Master กับ Volume นี่แหละครับ มันเหมือนกับแอมป์สมัยก่อนที่ต้องปรับ Pre-Volume ให้มันเกิดเสียงแตกแล้วคุมความดังด้วย Master อีกที ส่วน Fat Switch ที่เติมเข้ามาก็เพื่อใช้ชดเชยย่านเสียงเบส ถ้าบางท่านใช้ Single Coil แล้วเบสมันอาจจะน้อยไปสักนิดในบางกรณี


ผมทดสอบ Red Rock Overdrive โดยใช้ Gibson Les Paul Standard (ติดตั้งปิ๊กอัพ Tom Holmes Company รุ่น H450 และ H455) เล่นผ่าน RROvd + Zoom MS70-CDR ไปออกแอมป์ Komet Songwriter 30 และ Marshall HW 2x12 Cabinet พบว่า RROvd ให้เสียงค่อนข้างที่จะหลากหลาย Gain ที่ได้มาไม่มากเป็นเท่าพวก Hi Gain แต่พอเพียงสำหรับเล่นได้หลากสไตล์ครับ การปรับทำได้กว้างพอสมควร ทุกปุ่มควบคุมทำงานสัมพันธ์กันมาก ปุ่มเล็กที่คุม Volume ถ้าหมุนมากๆ เสียงคลีนของกีตาร์จะมาค่อนข้างเยอะ ผมรู้สึกว่าปรับไว้ที่ระหว่างเที่ยงถึงบ่ายสองจะให้เสียงที่พอดีๆ ที่สุด (กับเซ็ตอัพผม) Gain นี่ปรับได้หลากหลายดี เปิดน้อยๆ ก็ได้เสียง Cruch แบบ 800 ถ้าแตกเยอะหน่อย ก็เป็นพวก Mid Gain Distortion ได้เลย ถือว่าออกแบบได้เยี่ยมทีเดียวสำหรับ Red Rock Overdrive ถ้าใครอยากได้ก้อนแตกหลักที่ทำหน้าที่ได้หลากหลาย แนะนำให้พิจารณาตัวนี้อีกตัวครับ

Red Rock Od โดย Pete Thorn

Red Rock Od โดย Brett Kingman

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Neunaber : Slate Pedal

ผมเพิ่งได้รับก้อน ก้อนนึงมาหมาดๆ ครับ และตื่นเต้นกับมันมากจนต้องรีบหยิบมาเขียนแซงตัวอื่นๆ ที่อยู่ในคิว ผมพบว่ามันเป็นมิติใหม่ของการสร้างสรรรค์เอฟเฟคต์กีตาร์ที่น่าจะแก้ปัญหา และสามารถเป็นตัวที่เก็บไว้ใช้งานได้ยาวนานแบบเผื่อเหลือเผื่อขาดได้ดีเลย ไม่บ่อยนักที่เราจะได้เห็นบริษัทเอฟเฟคต์ที่กล้างๆ สร้างเอฟเฟคต์ที่เรียกว่าอาจจะปัดแข้งปัดขารุ่นอื่นๆ ในแบรนด์เดียวกัน แต่ทาง Neunaber Technology กล้าทำครับ เมื่อต้นปีทาง NT ออกรุ่นที่เรียกว่า Slate ออกมา ก่อนที่ผมจะเล่าเรื่องของ Slate ให้ฟัง รบกวนขอให้เพื่อนๆ ดูคลิปด้านล่างกันสักนิดก่อนเพื่อที่จะได้เห็นภาพคร่าวๆ ว่า Slate คืออะไร


พอเข้าใจกันหรือยังครับว่า Slate คืออะไร? ผมเข้าใจว่าพวกสาย Multi Effect นี่เรื่องแบบนี้คงไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะว่าเค้าทำกันมานาน แต่จะให้กลุ่ม Hi End เล่นของแบบนี้บ้างเราแทบไม่เห็นเลย แต่นี่ Neunaber ทำออกมาแล้ว เจ้าก้อน Slate นี้คือเอฟเฟคต์ก้อนที่สามารถเปลี่ยนร่างเป็นก้อนอะไรก็ได้ในกลุ่มเสียงที่ทาง Neunaber ออกมาเรียกว่าเปลี่ยนจาก Echo ไปเป็น Reverb ไปเป็น Chorus ก็ได้ตามใจโดยไม่จำกัดจำนวนครั้งอีกด้วย เรียกว่าซื้อก้อนเดียวได้เป็นหลายๆ เสียงเลย 

ผมลองทดสอบการใช้ของ Slate โดยการเปลี่ยนจาก Reverb (ทาง NT จะให้เสียงนี้มาแต่แรก) ไปเป็น Echo (Echolon) และจาก Echo ไปเป็น Chorus (Chroma Chorus) โดยทำการเปลี่ยนเสียงจากซอฟท์แวร์ของทาง Neunaber เอง (สามารถไปโหลดได้เองที่ http://neunaber.net/pages/pedal-customizer-software มีทั้งบน Mac OS และ Windows) เมื่อเทียบกับเสียงที่มากับก้อน WET Reverb / Echolon / Chroma Chorus แล้ว เสียงไม่ต่างกันเลยครับ เหมือนกันเรียกว่า 100% ผมใช้ Les Paul Standard เล่นผ่าน Slate โดยใช้ทั้งเสียง Echo และ Chorus ผ่าน Tophat : Vanderbilt และ Marshall 2x12 HW 


                                       

ต้องยอมรับว่าผมชอบ Neunaber : Slate มากด้วยพื้นฐานเสียงนั้น NT ทำได้ดีมากๆ อยู่แล้วในทุกรุ่น แล้วยังสามารถปรับเปลี่ยนเป็นเสียงอื่นๆ ได้อย่างง่ายๆ เจ้า Slate นี่น่าจะเป็นก้อนนึงที่มีไว้ในบ้าน หรือบนบอร์ด เผื่อเหลือเผื่อขาดได้ตลอดเวลาสำหรับเสียง Chorus/Delay-Echo/Reverb เมื่อต้องการ ลองหาเวลาไปทดสอบดูครับ ไม่อยากให้พลาดก้อนเจ๋งๆ แบบนี้


วันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

มารู้จักกับกีตาร์กันเถอะ

มีหลายคนยุให้ผมเขียนบทนี้ เนื่องด้วยหลายๆ ครั้งที่ตามอ่านจากเวปอื่นๆ หรือ อ่านฟอรั่มต่างๆ แล้วเจอคำศัพท์ที่อ่านแล้วยังไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร สำหรับพี่ๆ เพื่อนๆ ที่เชี่ยวๆ แล้วก็ผ่านบทนี้ไปก็แล้วกันนะครับ บทนี้ผมจะมาว่าด้วยการเรียกชื่อส่วนต่างๆ ของกีตาร์และหน้าที่ของมันโดยสังเขป จะไม่ลงลึกไปรายละเอียดว่าวัสดุทำจากอะไรยังไงนะครับ

กีตาร์ทั่วๆ ไปส่วนใหญ่ๆ แล้วจะมีอุปกรณ์พื้นฐานคล้ายๆ กันหมด แทบทุกรุ่น แทบทุกทรง (อันนี้ว่ากันถึงกีตาร์ไฟฟ้านะ) ไม่ว่าจะเป็นทรงไหนก็จะมีอุปกรณ์คล้ายๆ กัน เรามาคุยกันตั้งแต่หัวจรดเท้าเลยก็แล้วกันครับ


Head : ส่วนหัวของกีตาร์
Tuning Machine / Machine Head / Tuning Keys : ลูกบิด ใช้สำหรับตั้งสายกีตาร์
Truss Rod Cover : ฝาปิดช่องที่จะเข้าถึง Truss Rod
Truss Rod : คือแกนเหล็กที่อยู่ตรงกลางคอ ใช้หมุนสำหรับปรับคอให้ตรง
Nut : เป็นวัสดุเล็กๆ (อาจจะทำด้วยพลาสติก, กระดูก หรือกราไฟต์เป็นต้น) วางรองสายตรงจุดเริ่มต้นของเฟรทบอร์ด ทำหน้าที่ช่วยรองสายให้อยู่ตำแหน่งที่ถูกต้องเมื่อยึดสายจากสะพานสายมาแล้ว
Fret : เป็นโลหะชิ้นสั้นๆ ที่วางบนเฟรทบอร์ด (อาจจะทำจากสเตนเลส หรือนิกเกิ้ลเป็นต้น) โดยจะต้องมีการแบ่งความกว้างระหว่างช่องให้ถูกต้อง จึงจะกดลงไปแล้วดีดจึงจะได้เสียงที่ตรง
Neck : คอกีตาร์ 
Inlay : ส่วนที่ฝั่งมุก/พลาสติก หรือวัสดุอย่างอื่น นอกจากความสวยงามแล้วยังใช้บอกตำแหน่งของเฟรทด้วย
Binding : บางครั้งก็เรียกว่า Lining หรือ Purfing เป็นการเดินขอบรอบๆ ตัวกีตาร์ (หรือคอ) เพื่อความสวยงาม
Fingerboard/Fretboard : เป็นแผ่นไม้ที่มีลักษณะบาง วางประกบกับคอเริ่มต้นจาก Nut เรื่อยมาจรดเฟรทที่ 21,22 หรือ 24 แล้วแต่การแบ่งของกีตาร์นั้นๆ
Strap Button : คือน๊อตที่ใช้ยึดกับสายสะพาย
Pickup Selector : คือสวิทช์ที่ใช้ปรับเลือกว่าจะใช้ปิ๊กอัพที่ตำแหน่งไหน
Pickups : คือเครื่องแปลงความถี่จากการสั่นสะเทือนของสายให้เป็นพลังงานไฟฟ้าและขยายออกไปสูเครื่องขยายเสียง
Body : ลำตัวกีตาร์ส่วนใหญ่ทำจากไม้ ที่นิยมคือ Alder, Ash, Mahogany
Bridge : ส่วนสะพานสายที่วางสายขึงขึ้นไปที่ลูกบิด
Saddles : ส่วนหนึ่งของ Bridge หรือสะพานสายที่สัมผัสกับสายกีตาร์โดยตรง ส่วนใหญ่ในกีตาร์ไฟฟ้าจะสามารถปรับแต่งได้เพื่อให้กีตาร์ได้เสียงตรงที่สุด
Tailpiece : จุดสุดท้ายของส่วนที่ใช้ยึดสายของกีตาร์ (หรือเครื่องสายอื่นๆ)
Volume&Tone Control : ปุ่มปรับระดับเสียง และความทุ้มแหลมของกีตาร์

หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับน้องๆ ที่กำลังทำความรู้จักกับกีตาร์นะครับ หากมีอะไรที่ต้องการทราบเพิ่มเติมแล้วผมพอจะช่วยหาข้อมูลได้ ก็ยินดีครับ

** พูดถึง Pickups แล้วก็ต้องแยกย่อยให้อ่านกันนิดหน่อยถึงความแตกต่างของ Single Coil Pickup กับ Humbucker Pickup **

Single Coil Pickup : เป็นเครื่องแปลงความถี่จากการสั่นสะเทือนของสายที่เป็นลักษณะที่เป็นขดลวดที่พันเป็นตัวเดียว ส่วนใหญ่จะมีเสียงฮัม/จี่ตามสมควร 
Single Coil Pickup



Humbucker Pickup : เป็นเครื่องแปลงความถี่ที่มีลักษณะขดลวดพันกันขยายเป็นสองตัว มีคุณสมบัติในการกำจัดเสียงฮัม/จี่ไปในตัว จึงเรียกว่า Humbucker 

Humbucker แบบฝาครอบ











Humbucker แบบไม่มีฝาครอบ