วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Kinman : Woodstock Set

เมื่อหลายเดือนก่อน ผมเขียนถึงปิ๊กอัพกีตาร์แบรนด์หนึ่งซึ่งเรียกว่ายังใหม่มากในบ้านเรา แต่ปัจจุบันนี้ปิ๊กอัพแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับกันในวงกว้างแล้วในบ้านเรา ด้วยความที่ตัวปิ๊กอัพมีความโดดเด่นมากๆ ในเรื่องของการลดเสียงจี่ หรือฮัมลงไปแทบจะเป็นศูนย์ (ถึงแม้เค้าจะบอกว่าเป็น Zero Hum แต่ในความเป็นจริง การลด Noise เหล่านี้ ลดได้สัก 80%-90% ก็เจ๋งมากแล้ว) เซ็ตที่ผมจะนำมาพูดถึงในวันนี้เป็นเซ็ตที่ได้รับความนิยมสูงกว่าชาวบ้าน เนื่องจากมันมีความเกี่ยวเนื่องกับซาวด์ของมือกีตาร์ท่านนึงที่ล่วงลับไปแล้ว เซ็ตนี้เรียกว่า Woodstock Set ได้ยินชื่อแล้วหลายท่านคงจะต้องร้องอ๋อ ใช่แล้วครับ Kinman เซ็ตนี้มี sound reference จาก Jimi Hendrix นั่นเอง




Woodstock Set ประกอบด้วยซิงเกิ้ลคอยล์สามตัวคือ AVn-69 - AVn-69 - Hx85 ซึ่งปิ๊กอัพในตระกูล AVn-69 ของ Kinman นั้น เป็นปิ๊กอัพที่พยายามจะจับเอาเสียงในแบบปลาย 60 ของกีตาร์สแตรทดีๆ ในยุคนั้น เสียงที่ได้จึงฟังเต็ม ฟังใหญ่ ฟังกลมและเด้ง แต่ไม่อั้น (compressed) และด้วย AVn-69 พันโดยใช้แม่เหล็ก Alnico V ที่ชาร์จแบบไม่แรงมาก จึงทำให้แม่เหล็กไม่ได้ทำงานแบบหนักหน่วงมากนักมีผลให้ความ Muddy หรือความเบลอที่ปรกติจะเกิดขึ้นกับปิ๊กอัพแรงๆ นั้น ไม่มี ส่วนตัว Bridge ของ Set ที่เป็น Woodstock Plus จะเป็นรุ่น Hx85 ที่ต่างจากชุด Woodstock นิดหน่อย เพราะ Hx85 จะมี Output ที่แรงขึ้นอีกหน่อย ไว้สำหรับคุณๆ ที่ชอบตัว Bridge แรงหน่อย



ผมมีโอกาสทดสอบ Kinman : Woodstock Plus Set บนกีตาร์ 2 ตัว คือ Fender John Mayer Stratocaster และ Fender American Standard โดยผ่านแอมป์ Bogner Shiva Head - Shiva 2x12 โดยใช้โอเวอร์ไดร์ฟ Providence Flame Drive และ Mad Professor : Stone Grey Distortion พบว่า เสียงของ Woodstock Plus นั้นมีความหนา และเด้ง ภาษาคนกีตาร์เรียกว่าเสียง "ป๊อง" มาก ความเป็นธรรมชาติมีสูงและบาลานซ์ระหว่างสายทั้ง 6 เส้น ชัดเจนไม่มีสายไหนดร๊อป หรือเบา โทนสายบนหนาเด้งมากแต่ไม่เบลอ ถึงแม้จะใช้ Overdrive/Distortion ร่วมด้วย ก็ไม่ได้ทำให้เสียงฟังเบลอครับ ตรงนี้ถือว่าทำได้ดีมากๆ ในกรณีที่เป็น Single Coil ที่เป็น Hi Output แบบนี้ Kinman : Woodstock Set (Standard Set & Plus Set) เป็นปิ๊กอัพกีตาร์ที่น่าจะเหมาะสมกับคุณๆ ที่มีกีตาร์แบบ S-S-S / H-S-S แล้วต้องการอัพเกรดให้เสียงฟังดูดีขึ้นและที่สำคัญคือไม่จี่ ไม่ฮัมในทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะนักดนตรีอาชีพครับ เพราะคุณๆ ไม่รู้เลยว่าคุณจะไปเจอระบบไฟแบบไหนใช่ไหมครับ?




วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Vemuram : KAREN


เสียง Overdrive/Distortion เป็นเสียงหนึ่งที่คนเล่นก้อนจะถวิลหาก่อนเป็นตัวแรกๆ และมักจะเป็นก้อนที่มีจำนวนมากที่สุดในบ้าน (ฮา) ตามที่ผมมีโอกาสได้จับก้อนเสียงแตกมาเป็นจำนวนพอสมควร เสียงหนึ่งที่ชาวกีตาร์เล่นก้อนตามหามากที่สุด คือเสียงแตกในแบบ Marshall ซึ่งก็อาจจะแบ่งเป็นกลุ่มพวก Vintage Marshall เช่นเสียงแบบ JTM45 หรือ Plexi และกลุ่ม Marshall Hi Gain อย่าง JCM800/900 เสียงเหล่านี้จะถูกจำลองลงมาในรูปแบบก้อนมากที่สุดเสียงหนึ่ง


Vemuram เป็นค่ายใหม่ที่ผลิตเอฟเฟคในกลุ่ม Boutique ที่มีถิ่นฐานบ้านเกิดมาจากประเทศญี่ปุ่น และเป็นกลุ่มคนทำเอฟเฟคต์ก้อนที่มีไอเดียใหม่ๆ ที่แตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ ค่อนข้างจะชัดเจน ก้อนที่ผมจะนำมาพูดถึงในบทนี้ เรียกว่า KAREN ซึ่งเป็นเสียงแตก Overdrive/Distortion ที่เป็นกลุ่มเสียง Marshall Vintage (แต่แอบ Hi Gain)

                                           

เกริ่นไว้เมื่อสักครู่ครับ ว่า Vemuram มีไอเดียที่แตกต่างจากแบรนด์อ่ืนๆ อย่างชัดเจน ข้อที่เด่นชัดสุด ก็คือเรื่อง Housing ของ Vemuram ทุกรุ่นนั้น จะเป็น Brass หรือทองเหลือง เขาเหตุผลว่าทำไมจึงใช้เคสทองเหลืองที่หนักกว่าและราคาสูงกว่า ก็เพราะว่าเคสทองเหลืองจะช่วยกำจัด Noise ที่ไม่ต้องการออกไปมากพอสมควรเมื่อเทียบกับ Aluminum Case ซึ่งตรงนี้น่าสนใจครับ เพราะว่าคนเล่นก้อนที่แตกเยอะๆ สิ่งที่เราพบเจอกันบ่อยๆ ก็คือเรื่องของเสียงจี่ หรือ Noise ที่ไม่ต้องการ เดี๋ยวทดสอบกันก็จะได้รู้ว่ามีผลมากน้อยอย่างไร

                                           

Vemuram : KAREN เป็น Overdrive/Distortion ที่ซื่อๆ ตรงๆ ง่ายๆ ครับ มีปุ่มปรับแค่ 3 ปุ่ม คือ Volume - Tone - Gain แต่มีอาวุธลับอยู่ที่ด้านบนของตัวเอฟเฟคต์จะมีช่องเล็กๆ เป็น Trim Pot ไว้สำหรับปรับสิ่งที่เขาเรียกว่า Gain Width มันคืออะไรเดี๋ยวเราค่อยไปคุยกันหลังจากได้ลองแล้ว ผมทำการทดสอบ KAREN ด้วย Gibson Les Paul Std R9VOS ผ่าน KAREN ไปออก Marshall 2061 - 2061cx Cabinet พบว่า เจ้าก้อนทองเหลืองก้อนนี้ให้อะไรมากกว่าความเป็น​​ "อีกก้อนที่เสียงเหมือน Marshall" เพราะหลังจากปรับเล่นดูหลายๆ แบบ และเมื่อปิด Gain เหลือ 0 เจ้า KAREN สามารถทำหน้าที่เป็น Overdrive ที่ไม่มีอาการคอมเพรส ฟังดูโปร่งดี จากนั้นปรับ Gain ขึ้นไปที่ราวๆ 10 โมง เสียงที่ได้จะคล้ายคลึงกับเสียงไดร์ฟจากตู้แอมป์มาร์แชลพวก JCM800 จะฟัง Crunchy มากๆ ย่าน Hi Frequency ฟังระยิบระยับสว่างมาก แต่ไม่แหลม และถ้าจะออกแหลมเล็กน้อย แค่หมุนปุ่มโทนลงมาเล็กน้อยก็จะฟังพอดีๆ ทันที่ ปุ่มโทนนี้ ค่อนข้าง Effective มากๆ ปรับแต่งเสียงได้ละเอียดดีทีเดียว และเมื่อใช้ Gain หลังเที่ยงเป็นต้นไป เสียงแตกจะฟังหนักหน่วงเกินกว่าจะเรียกว่า Overdrive แล้วครับ แต่จะเป็น Distortion สไตล์มาร์แชลที่หนักหน่วงและกลางไม่จมเลย เสียงเล่นมันส์และสนุกมือมากๆ การตอบรับของเสียงกระชับ ไว และไม่มีอาการหน่วงเลย ส่วน Trim Pot ด้านบนจะมีผลกับ Gain ครับ จะไม่ได้เพิ่มให้มันไปแตกไปมากกว่าเดิมเท่าไหร่ แต่จะทำให้เสียง Distortion ฟังดูหนาใหญ่ อิ่มขึ้นอีก ทีนี้ ต้องดูแล้วครับว่าเราต้องการให้มันหนาใหญ่ขนาดไหน ปรับจูนกันได้ตามใจเลย ก้อนเสียงแตกสไตล์ Hard Rock / Hair Band หรือ Marshall สไตล์นั้นมีเยอะแยะมากในตลาด แต่มีไม่กี่ก้อนหรอกครับ ที่ทำได้ใกล้เคียงแอมป์แท้ๆ มากขนาดนี้ Vemuram : KAREN เป็นหนึ่งในไม่กี่ตัวที่เรียกได้ว่าใกล้สุดๆ จริงๆ


วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Free The Tone : MS SOV

Free The Tone : Matt Schofield SOV Overdrive
















ช่วงนี้มี Overdrive ดีๆ เยี่ยมๆ ผ่านมือหลากหลายก้อนมากครับ เมื่อวานเพิ่งจะลงบทความเกี่ยวกับก้อนขึ้นหิ้ง KLON Centaur วันนี้ต่อกันเลยด้วยก้อน Overdrive ที่เรียกว่ากำลังมาแรงเลยทีเดียว ด้วยความที่ Free The Tone เป็นแบรนด์ที่ผลิตเอฟเฟคต์กีตาร์ได้โดนใจมาก และคราวนี้ยังออก SOV2 Overdrive ที่มีการปรับจูนโดย Matt Schofield จนออกมาเป็นรุ่น Signature ของ Matt เรียกว่า MS SOV Overdrive ยิ่งเป็นที่น่าสนใจมากขึ้นไปอีก

เล่ากันสั้นๆ ก่อนครับว่า Matt Schofield เป็นใคร หลายๆ ท่านอาจจะยังไม่รู้จักนักกีตาร์หนุ่ม Blues, Rock, Funk ชาวอังกฤษคนนี้ (เกิดใน Manchester ไม่รู้ว่าเป็น United หรือ City แฮะ) Matt เป็นมือกีตาร์ที่เรียกว่ากำลังมาแรงมากๆ ในยุโรป ด้วยความที่มีสไตล์การเล่นเพลง Blues ที่มีความละเมียดละไมในการเลือกใช้โน๊ตละม้ายสไตล์ของ Robben Ford, Larry Carlton, Carl Verheyen ประมาณนั้น ถ้าเป็นคนที่ติดตามงานและ Gears ของ Matt มาตลอดจะสังเกตุว่าเขาน่าจะเป็นคนที่ซีเรียสเรื่องอุปกรณ์มาก


มาว่ากันถึง MS SOV กันต่อครับ เจ้าก้อนนี้มากับแพกเกจสวยงามตามสไตล์ของญี่ปุ่นที่เนี๊ยบไปซะทุกส่วน เปิดกล่องมาก็เจอก้อนสีแดง (แต่แดงต่างเฉดจาก SOV2 นะครับ) และมีลายเซ็นต์ของ Matt สกรีนอยู่ท้ายก่อน เท่ห์มากๆ บริษัท Free The Tone โดย Mr.Yuki Hayashi ออกแบบ SOV Overdrive มาโดยเอาโจทย์ที่ต้องการให้ Overdrive มีเสียงในแบบของ Robben Ford และ Larry Carlton มาเป็นโจทย์และในรุ่นของ Matt ก็ได้ต่อยอดโดยการนำเอาความต้องการของ Matt มาเพิ่มเติมรายละเอียดเข้าไป ซึ่งเท่าที่ผมทดสอบเปรียบเทียบกัน ผมใช้ Fender 1974 Stratocaster ต่อผ่าน MS SOV และ Mad Professor Silver Spring Reverb ไปเข้า Bogner New Yorker ออกแคบบิเนต Bogner Shiva 2x12 พบว่าเสียงที่ได้จาก MS SOV มีความแตกต่างจาก SOV2 อยู่ตรงที่ว่าย่าน Low Freq ของ MS SOV จะฟังหนาและลึกกว่า รวมทั้ง Gain ก็เยอะขึ้นกว่าตัวปรกติเล็กน้อย ส่วนตัวแล้วผมชอบเซ็ตติ้งเวลาเล่น Gain น้อยๆ เสียง Clipping ในจุดที่เสียงกำลังเกือบๆ จะแตก ฟังดูหนาใหญ่ และปิ๊กแอทแทคชัดเจน ถึงแม้จะโลว์ใหญ่แต่ย่านเสียงกลางและแหลมก็ยังมาและไม่แหลมเกิน เรียกว่าฟังกลมกล่อมก็แล้วกัน ถ้าเร่ง Gain ขึ้นอีกก็จะไปอยู่ในกลุ่ม Brown Sound เสียง Overdrive จะฟังหนา Gain ฟังมีเนื้อเสียงละเอียดและหนา FTT ได้ผลิตรุ่นนี้มาพร้อมทั้งเซอร์กิตที่เรียกว่า HTS Circuit ซึ่งเป็น System ที่ชดเชยเสียงเมื่อ Off เอฟเฟคต์ทำให้เสียงกีตาร์ที่วิ่งผ่านตัวเอฟเฟคต์ (ถึงจะไม่ได้เปิดใช้) ไม่มีการสูญเสียของสัญญาณเลย น่าจะเป็นข้อดีมากๆ สำหรับคนกีตาร์ที่ซีเรียสเรื่อง Tone Loss ครับ



จุดที่เห็นว่าอาจจะด้อยหน่อยของ Overdrive ตัวนี้ มีเพียงว่าเค้าค่อนข้างกินไฟมากครับ คือกินไฟถึง 90mA ซึ่งเยอะมากสำหรับ Overdrive หนึ่งตัว ถ้าคุณใช้ถ่าน Alkaline ก็จะหมดภายใน 3-4 ชั่วโมงเท่านั้น เพราะฉะนั้นแล้ว ทาง FTT แนะนำให้ใช้ Power Supply จะดีที่สุด และ FTT MS SOV นี้ เป็น Limited Edition ครับ จะวางจำหน่ายตั้งแต่ 5 กุมภาพันธ์ 2556 ไปจนถึงหมดปี 2556 เท่านั้นอีกด้วย



ว่ากันตามตรงแล้วผมประทับใจ SOV มาตั้งแต่ Mr.Hayashi ยังผลิตให้กับ Providence อยู่จนมาถึงวันที่เขาออกมาเปิดแบรนด์ของตัวเอง คือ Free The Tone นี้ เอฟเฟคต์ของเขาก็ยังได้รับการพัฒนาอยู่เรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการออกแบบ Housing หรือเรื่องของ Tone จนมาถึงตัวนี้ ผมก็ยังรู้สึกว่า Mr.Hayashi ไม่เคยพอใจและหยุดพัฒนาเลย และ Overdrive ตัวนี้ MS SOV จาก Free The Tone ก็เป็น Overdrive อีกตัวที่อยู่ในระดับ 5 ดาว และแนะนำว่าต้องลองครับ 

เปรียบเทียบ SOV ทั้งสามเวอร์ชั่น

Klon : Centaur

Holy Grail Of Overdrive? Most Overpriced Overdriver Pedal?

เป็นคำถามที่ตอบยากและเป็นที่ถกเถียงกันในวงกว้างสำหรับผู้รักการเล่นก้อนทั่วโลกว่า KLON Centaur เป็นสุดยอดของสุดยอดก้อน Overdrive? หรือเป็นก้อนที่ปั่นราคากันสูงกว่าความเป็นจริง? ตั้งใจจะเขียนถึงก้อนนี้อยู่ หลังจากที่ผมเพิ่งได้มาใหม่ๆ เนื่องเพราะว่ารู้สึกว่าเจ้า Overdrive ก้อนนี้ เป็นปรากฏการณ์ที่หาได้ยากหน่อยในอุตสาหกรรมเอฟเฟคต์ ที่ว่าเป็นปรากฏการณ์ก็เพราะว่าเมื่อคราวที่ยังผลิตอยู่ Centaur เมื่อปี 1995 ราคาน่าจะราวๆ $300-$400 (9,000-12,000) ต่อ 1 ยูนิต แต่ปัจจุบันนี้ Klon : Centaur รุ่นดั้งเดิมวางขายอยู่บน www.ebay.com อยู่ราวๆ $1,500 - $2,000 (45,000-60,000 บาท ส่วนตัวที่ผมได้มาราคาจบที่ $1,543 ถ้วน)

Centaur ที่เห็นๆ อยู่ในตลาดจะมีกันหลากสีครับ แต่เซอร์กิตจะเหมือนกันหมด ยกเว้น 300 ตัวแรกที่จะใช้เซอร์กิตบอร์ดที่ต่างจากตัวหลักๆ และที่ว่าหลากสีนั้นผมหมายถึงเท่าที่ผมเคยเห็นนั้น Centaur ที่คุ้นๆ ตากันก็จะเป็นบ๊อกซ์สีทองด้านและมีโลโก้คนครึ่งม้าสกรีนอยู่ รุ่นที่หายากหน่อยขึ้นมาอีกหน่อย ก็จะเป็นบ๊อกซ์เงินเงาและมีโลโก้คนครึ่งม้าสกรีนอยู่ ปัจจุบันเห็นว่ากันอยู่ที่ราคาประมาณ $2,000-$2,500 (ราว 60,000-75,000 บาท) และรุ่นที่ราคาย่อมเยาลงมาหน่อยก็จะเป็นบ๊อกซ์ที่เป็นทองด้าน หรือ เงินด้าน และเงินเงา แต่ไม่มีโลโก้ใดๆ มีสกรีนว่า KLON เฉยๆ จะเห็นซื้อขายกันอยู่ที่ $800-$1,000 (24,000-30,000 บาท) เท่าที่เคยคุยกับเพื่อนๆ ที่นิยม KLON เป็นพิเศษ ได้รับข้อมูลว่าเนื่องเพราะ KLON มีอัตราการผลิตที่ช้า และมีจำนวนน้อยมาก รวมไปถึงสุ้มเสียงของ Overdrive ก็ดีเยี่ยมเป็นที่ยอมรับกันในหมู่คนเล่นกีตาร์ดังๆ อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น Matt Schofield, Joe Perry, Brad Witford และปัจจุบันบ๊อกซ์แบบนั้นก็ไม่ได้ผลิตอีกแล้ว ที่มีอยู่ในตลาดก็มีราวๆ สี่พันกว่ายูนิตเท่านั้น รวมปัจจัยทั้งหมดก็ทำให้เกินปรากฏการณ์ KLON Centaur ขึ้นมา



หลังจากที่ผมได้มาก็มีโอกาสได้เล่นจริงๆ จังๆ อยู่หลายวัน ใช้ทั้งกีตาร์ที่ติด Humbuckers และ Single Coils ทดสอบดู พบว่า KLON เป็น Overdrive ที่ค่อนข้างจะมีความเป็นตัวของตัวเองสูง จุดเด่นๆ ของเขาอยู่ที่เสียงที่หนาใหญ่มาก โดยเฉพาะเวลาเล่น Solo เนื้อเสียงและโน๊ตแต่ละตัวจะมีความหนามาก อีกจุดที่เด่นๆ คือการคลายตัวของเสียงแตกนั้นค่อนข้างช้า จึงทำให้เสียงหนานั้นค้างนาน การใช้งานก็สามารถปรับแต่ได้หลากหลายพอสมควร ส่วนตัวแล้ว ผมเห็นว่า Centaur เหมาะกับกีตาร์ประเภท Single Coils มากกว่า ไม่ว่าจะใช้เป็น Clean Boost หรือใช้เป็น Overdrive พวก Light Gain หรือ Medium ก็จะอยู่ในกลุ่ม Brown Sound ในแบบ TS Style แต่หนาใหญ่กว่า (มาก) จุดที่ผมคิดว่าเป็นเรื่องด้อยหน่อย ก็เห็นจะเป็นเรื่อง Compression ที่มีมากไปสักหน่อย คนที่ชอบ Overdrive เสียงโปร่งๆ ไม่น่าจะชอบครับ หากถามว่าจำนวนเงินที่จ่ายไปสำหรับ "ม้าทอง" (ภาษาคนเล่นก้อนเค้าเรียกกัน) $1,543 นั้นคุ้มหรือไม่กับเสียงและก้อนที่ได้มา? ผมตอบไม่ได้และไม่ขอตอบก็แล้วกันครับ (ฮา) แต่บอกได้ว่าเป็น Overdrive อีกก้อนที่เสียงไม่ธรรมดาครับ