วันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2560

BKP Painkiller Set

ระยะนี้ตลาดสายโมด์กีตาร์คึกคักกันมากนะครับ ผู้ใช้งานเริ่มเปิดใจรับอะไรที่มาตรฐานสูงตามราคากันมากขึ้นเยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาด Guitar Pickups นั้น User เริ่มยอมลงทุนกับของดีๆ มาตรฐานสูงๆ ซึ่งราคาไม่ได้ถูก แต่มีคนใช้งานเยอะขึ้นเรื่อยๆ

บทนี้ผมมีโอกาสได้ลองทดสอบ Pickups ชุดหนึ่งซึ่งนำตลาด Premium Pickups มานานหลายปี คือค่าย Bare Knuckle Pickups จากอังกฤษ ชุดนี้เรียกว่า Painkiller Humbucker Set ซึ่งทางผู้ผลิตใช้ชื่อ Reference ถึงเสียงในแบบ Judas Priest ยุคใหม่ ผมจิตนาการไว้ว่าเสียงต้องเป็นสไตล์ Output แรงๆ ดุๆ กระด้างๆ หน่อย ในความเป็นจริงแล้ว เป็นอย่างไร เดี๋ยวเรามาตามกัน


ผมได้ทดสอบ Pickups ชุดนี้ติดมากับกีตาร์ Fender Telecaster Jim Root Signature โดยเปลี่ยนจาก EMG มาเป็น Painkiller Set และเปลี่ยนจากคอขาว มาเป็นคอดำแทน Pickups ชุดนี้นั้นมากับฝาครอบที่เรียกว่า Black Battleworn คือทำสีดำสนิทและมีรอยถลอก ดูเท่ห์มากๆ น่าจะมีแต่ BKP ที่ Offer ลูกค้าด้วยอ๊อปชั่นฝาครอบสวยๆ หลากหลายชนิดครับ ทีนี้มาด้านเสียง พบว่าสิ่งที่แตกต่างกันชัดเจนแบบไม่ต้องมโนเลยคือเสียงคลีนที่ฟังนุ่มนวลกว่าของเดิม มีความเป็นเม็ด เป็นลูกที่ไม่มีความแข็งกระด้างเหลืออยู่ และบาลานซ์ทั้ง 6 สายดีมากๆ (ลองฟังจากคลิปด้านล่างดูนะครับ) ทั้งนี้ ผมใช้แอมป์ Krank รุ่น Krankenstein บันทึกเสียงนะครับ โดยแต่เดิม Kranken นี่ก็ให้เสียงคลีนค่อนข้างแข็ง แต่ชุด Painkiller นี่ช่วยให้ซอฟท์ลงเล่นง่ายขึ้นอีกเยอะครับ

Official VDO แชร์กันได้นะครับ


ผมลองเล่นโดยเติม Drive เข้าไปนิดหน่อย ก็ยังสามารถเล่น Picking Style ได้แบบไม่เสียโทนเสียงและบาลานซ์ระหว่างสายก็ยังดีมากเหมือนเดิม เมื่อเปิด Drive มากๆ เข้าไปก็ยังรักษาระดับบาลานซ์ได้ดีเยี่ยม และเสียงก็โหดขึ้นตามจำนวน Drive ที่ใส่เข้าไป เมื่อเล่นพวก single note ก็ได้เสียงกลมๆ หนาๆ ชัดๆ จาก Neck Pickup และเสียงค่อนไปทางกร้าวๆ เมื่อใช้ Bridge Pickup - Bare Knuckle Pickups ชุด Painkiller Humbucker Set ไม่ได้ทำได้แต่เสียงโหดๆ แต่สามารถสร้างเสียงละมุนละไมได้อีกด้วยครับ ถ้าเพื่อนๆ คนไหนกำลังหาโมด์กีตาร์ตัวโปรดของคุณให้ได้เสียงค่อนข้างครอบคลุมเล่นได้แทบจะทุกแนวดนตรี ชุดนี้ไม่ผิดหวังครับ


วันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

Simble Overdrive

     ช่วง 5 ปีหลังมานี้ผู้ผลิตเอฟเฟคต์ก้อนหลายๆ แบรนด์เริ่มหันมาพัฒนาเสียงของ Overdrive ไปในทิศทางคล้ายๆ กัน โดยชูธงเอาเสียงของแอมป์พลิฟายด์ที่เรียกได้ว่าหายากที่สุด และราคาพุ่งไปแพงมากที่สุด Dumble Overdrive Special คือชื่อของแอมป์ตัวนั้น - DOS นี้เป็นแอมป์ที่นิยมมากๆ สำหรับนักกีตาร์สาย Blues / Jazz / Rock ที่ต้องการโทนเสียงกลมๆ เบสใหญ่และลึก มีไดนามิกดี ซึ่งจะซื้อแอมป์รุ่นนี้ ณ ปัจจุบันนี้ น่าจะต้องใช้เงินมากกว่าหนึ่งล้านแปดแสนบาท คุณอ่านไม่ผิดครับ หนึ่งล้านแปดแสนบาทจริงๆ ($50,000) แอมป์รุ่นที่พูดถึงนี้สร้างสรรค์ผลงานให้กับ Carlos Santana / John Mayer / Robben Ford / Larry Carlton มานักต่อนักแล้ว และเป็นหนึ่งในเสียงที่นักกีตาร์ตามหาเยอะที่สุดเสียงหนึง


     พอสังเขปกันแล้วกับเรื่องของ Dumble Overdrive Special ช่วงนี้เรามาคุยกันถึงเรื่องเอฟเฟคต์ก้อนที่ทางบริษัท Mad Professor จากประเทศ Finland ผลิตออกมาโดยมีแอมป์ DOS นี้เป็นต้นแบบ เขาเรียกเจ้าก้อนเล็กๆ นี้ว่า Simble Overdrive

      Simble มาในรูปแบบของเอฟเฟคต์ก้อนขนาด Compact ไม่เปลืองเนื้อที่บอร์ด และถูกออกแบบมาให้ใช้ไฟได้ตั้งแต่ 9v ไปจนถึง 12v และใช้ไฟเพียง 10mA เท่านั้นเอง  มีปุ่มมาให้ปรับ 4 ปุ่มคือ :

Level : ควบคุมความดังเบาของตัวก้อน
Sensitivity : ควบคุมความมากน้อยของ Gain
Contour : ควบคุม Tone ของตัวก้อน
Accent : ควบคุม Pick Attack (ส่วนนี้ผมชอบมาก สำหรับคนที่ชอบดีดแล้วฟัง Pick Attack ที่หัวโน๊ต)


     ผมทดสอบ Simble Overdrive ต่อตรงๆ เข้ากับ UA Apollo Twin บันทึกเสียงโดย Logic Pro X พบว่า Simble เป็นเสียง Overdrive ที่มีไดนามิกที่ดีมากๆ ดีดเบา ดีดแรง มีผลต่อเสียง และ touch อย่างมาก ปรับ Contour มาทางซ้ายจะให้เสียงที่ dark ลงนิดหน่อยเหมาะกับทาง Jazz และปรับ Contour ไปทางขวาเยอะหน่อย เสียงจะฟังสว่างขึ้น เมื่อเพิ่ม Sensitivity ไปทางขวาก็จะฟาด Rock ได้สบายๆ

     Mad Professor เชื่อถือได้เลยในการดีไซน์ Overdrive ดีๆ และ Simble Overdrive นี่ก็เช่นกัน ตัวนี้อาจเป็นเสียงที่คนรัก Jazz / Blues / Rock มองหา และสำหรับคนที่ต้องการเสียงแบบ Dumble Overdrive Special - ก้อนเล็กๆ ก้อนนี้ ให้เสียงที่แพงเหลือเชื่อครับ

*** ลองฟังคลิปด้านล่างดู ทาง Mad Professor ได้ทำคลิปทดสอบเปรียบเทียบระหว่าง Simble Overdrive กับ Dumble Amp จริงๆ ***






วันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ยืดอายุการใช้งานแอมป์กัน




ถ้าเพื่อนๆ ที่ตามอ่านอยู่นี้มีแอมป์เล่นกันอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อนๆ ที่มีแอมป์ที่ฝรั่งเรียกว่า Tubes Amp หรือ Valves Amp - สองคำนี้เหมือนกันนะครับ คือหมายถึงแอมป์ที่ใช้หลอดสุญญากาศเป็นกำลังขับ เพียงแต่ American Eng ใช้ Tubes ส่วน Brit Eng ใช้คำว่า Valves -

แอมป์ต่างๆ โดยเฉพาะแอมป์หลอดนั้น มีอายุการใช้งานของมันอยู่ครับ เหมือนกับเครื่องไฟฟ้าทั่วๆ ไป ถ้าเราดูแลรักษามันดีๆ มันก็จะใช้งานได้นาน และอยู่กับเราไปอีกนานเลย ต้องบอกไว้ตรงนี้เลยว่าแอมป์หลอดนั้น มีความ Sensitive มากกว่าพวก Transistor ที่ไม่ใช้หลอดอยู่มาก ไฟกระชากครั้งเดียวก็อาจจะทำให้เสียงเปลี่ยนไปเลย หรือเซอร์กิตมีปัญหาได้ทันที ดังนั้นแล้วต้องระมัดระวังเอาใจใส่เขานิดนึง

วิธีการดูและรักษาง่ายๆ สำหรับแอมป์หลอด ก็มีดังนี้ :

1. การ Bias แอมป์นั้นต้องเหมาะสมกับแอมป์นั้นๆ คิดเหมือนรถยนต์ดูนะครับ ถ้าเราตั้งคันเร่งแรงไป รถก็จะมักจะพุ่งไปข้างหน้าแบบเร็วเกินไป ถ้าตั้งต่ำเกินไปรถก็จะสะดุดๆ เวลาเราเร่งเครื่อง - แอมป์ก็เช่นเดียวกันครับ ถ้าเราตั้ง Bias ให้ Hot เกินไป วงจรก็จะทำงานหนักกว่าที่เขาถูกออกแบบมา ทำให้หลอดเสื่อมสภาพเร็วเกินไป และมีความร้อนสูงมาก อาจจะทำให้เซอร์กิตเสียหายได้ และถ้าตั้งต่ำ หรือ Cold เกินไปก็จะทำให้แอมป์ทำงานได้ไม่เต็มที่ เสียงอาจจะแห้งเกินไป ดังนั้นการตั้ง Bias ของแอมป์ก็ควรจะให้เหมาะสมกับ Spec. - แนะนำให้ช่างผู้ชำนาญการตั้งให้จะดีที่สุด

2. ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนง่ายๆ แต่ผู้ใช้งานแอมป์หลอดส่วนใหญ่มักจะมองข้ามกันเสมอ คือโดยปรกติแอมป์จะมีสวิทช์ Power และ Stand By อยู่สองอันเสมอ - ให้เปิด Power ก่อนเพื่อวอร์มหลอดอย่างน้อยๆ 1 นาที ก่อนที่จะเปิด Stand By เพื่อใช้งาน แค่ขั้นตอนนี้ขั้นตอนเดียว ก็ยืดอายุการใช้งานของหลอดได้หลายแล้วครับ

3. ขั้นตอนนี้ก็เป็นอีกจุดที่มองข้ามกันเสมอๆ เช่นกัน - การใช้แอมป์หลอดที่ถูกเคลื่อนย้างจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งนั้น ต้องวางทิ้งไว้เฉยๆ ให้แอมป์ปรับสภาพกับอุณหภูมิห้องเสียก่อน เช่นยกลงจากรถร้อนๆ มาที่เวทีที่มีความเย็นมากกว่า คำแนะนำคือวางทิ้งไว้สักครู่ก่อนที่จะเปิด Power เพื่อยืดอายุการใช้งานวงจร และหลอดของแอมป์

4. หลีกเลี่ยงการนำเอาเครื่องดื่ม น้ำ วางไว้บนแอมป์ แอมป์พลิฟายด์ใช้ไฟฟ้าในการทำงาน และไฟฟ้า กับ น้ำ เข้ากันไม่ได้เลยครับ การไม่วางเครื่องดื่มบนแอมป์นอกจากจะหลีกเลี่ยงการหกของของเหลวไปสู่แอมป์แล้ว ยังช่วยยืดอายุคนเล่นเพื่อที่จะไม่ถูกไฟดูดได้นะครับ !!

5. อย่าทนใช้หลอดที่เสื่อมสภาพ อันนี้ถ้าเพื่อนๆ คุ้นชินกับเสียงแอมป์ของตัวเองแล้ว จะทราบเองเมื่อหลอดเสื่อมสภาพ เพราะเสียงแอมป์จะเปลี่ยนไป เช่นเสียงเบาลงเรื่องๆ หรือเสียงบางลงกว่าปกติ หรือมีอาการเสียงวูบดังเบาสลับกัน และถ้ามองเห็นตัวหลอดที่จะเริ่มมีฝ้าขาวเนื่องจากการสูญเสียความเป็นสุญญากาศ นั่นก็เป็นนิมิตรหมายอันดีที่จะต้องเปลี่ยนหลอดแล้วหล่ะครับ - การเปลี่ยนหลอดนั้น ถ้าเป็น Power Tubes/Valves ก็แนะนำให้เปลี่ยนรวดเดียวหมด หรือเปลี่ยนเป็นคู่ เพื่อการทำงานที่ดี และ สม่ำเสมอกันครับ

ครบ 5 ข้อไปแล้ว แต่อยากจะแถมให้อีกข้อหนึ่ง คือการใช้แอมป์หลอดในการแสดงสดนั้น ต้องมั่นใจอย่างมากว่าไฟที่จ่ายเข้าสู่แอมป์เป็นไฟที่นิ่งพอ ไม่สะดุด ไม่กระชาก เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายกับวงจรอย่างแน่นอน ถ้าไม่มั่นใจ การใช้ Stabilizer ดีๆ ช่วยยืดอายุงานของแอมป์ของคุณได้อย่างมากเลยครับ