วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555

EMP Treatment Strings

Cleartone Electric Set
     จั่วหัวเรื่องแบบนี้ คุณๆ คงจะมีคำถามในใจว่า หมอนี่มันพยายามจะพูดถึงอะไรกันหล่ะ ผมกำลังจะคุยต่อเนื่องจากบทความที่เกี่ยวกับสายกีตาร์ชนิดเคลือบ (Coated Strings) เพราะสายกีตาร์ชนิดนี้ กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในหมู่นักเล่นกีตาร์/เบส และอย่างที่ผมเคยเขียนเอาไว้ในบทความก่อนหน้านี้ว่า โดยปรกติ สายกีตาร์ชนิดเคลือบนั้นจะใช้ Teflon เคลือบสายในความหนาที่พอเหมาะ เพื่อช่วยให้สายมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้น การใช้สายชนิดเคลือบ ก็ก่อให้เกิดสิ่งที่อาจจะไม่พึงประสงค์ไปบ้าง เช่น ความลื่นของสายที่เกิดจากการเคลือบ โทนเสียงที่เปลี่ยนไปจากปรกติ (เมื่อเทียบกับสายชนิดไม่เคลือบ) ในบางแบรนด์อาจจะเกิดเสียงใส และแหลมขึ้น และในบางกรณีก็อาจจะเกิดขุยเมื่อถูกดีดบ่อยๆ หรือในจุดที่มือสัมผัสบ่อยๆ ซึ่งข้อด้อยเหล่านั้น ก็เป็นปัญหาและจุดด้อยที่นักกีตาร์หลายๆ ท่าน ที่ถึงแม้จะยินดีกับอายุการใช้งานของสายที่มากขึ้นก็ตาม

     

        ก่อนที่ผมจะไปว่ากันถึงเรื่องของ Enhanced Molecular Protection ว่ามันคืออะไรนั้น ก็ขอย้อนกลับไปพูดถึงสาเหตุที่ทำให้สายเกิดสนิมกันเสียก่อน การที่สายกีตาร์จะขึ้นสนิมนั้น มักเกิดจากการที่มือของเราเมื่อสัมผัสกับสายมากๆ บ่อยๆ จนเกิดเหงื่อ และเหงื่อของเรานั้นก็จะมีความเค็มอยู่ ดังนั้นเมื่อสัมผัสกับสายกีตาร์บ่อยๆ เข้า ก็สามารถทำให้เกิดสนิมเป็นธรรมดาตามหลักวิทยาศาสตร์ จึงทำให้อายุการใช้งานของสายกีตาร์สั้นลง ในบางกรณีเพียงแค่ 2 วัน สายก็แย่แล้ว ดังนั้น เราจึงต้องขอบคุณหลายๆ บริษัทที่ทำการออกแบบสายกีตาร์ชนิดเคลือบออกมาให้เราได้ใช้กัน แต่ถึงกระนั้น ก็ยังคงมีจุดด้อยในหลายๆ จุดดังที่ผมได้เรียนให้ทราบไปแล้วในย่อหน้าแรก

Acoustic Set which is a flagship of Clearton String

   เมื่อเร็วๆ นี้ ผมไปเจอสายกีตาร์แบรนด์หนึ่งที่ 2012 Namm Show ซึ่งเค้าได้โฆษณาไว้ว่า บริษัทของเขาทำสายกีตาร์ที่เรียกได้ว่าชนิดเคลือบเหมือนกัน แต่กรรมวิธีในการเคลือบนั้น แตกต่างจากการเคลือบสายปรกติที่เจ้าอื่นๆ เค้าทำกัน ผมมีความสนใจเป็นอย่างมาก จึงใช้เวลาระยะใหญ่ๆ พูดคุยกับ Joe Iacobellis ประ ธานบริษัท Cleartone Strings ซึ่ง Joe ก็เล่าถึงกรรมวิธีของสายเคลือบในแบบ Enhanced Molecular Protection (EMP) ไว้ว่า ปรกติสายเคลือบต่างๆ ก็มีข้อดีของมันแน่ๆ อยู่อย่างหนึ่ง ก็คือเรื่องของอายุการใช้งานที่แน่นอนว่ายาวนานกว่า สายปรกติที่ไม่เคลือบ แต่ก็มีข้อด้อยอยู่ ถ้าการเคลือบสายเคลือบหนาเกินไปเสียงก็จะเปลี่ยน และเป็นขุยเมื่อใช้งานไประยะหนึ่ง ดังนั้น Cleartone Strings ก็ค้นคว้าและใช้วิธีใหม่ในการดูแลสาย (Joe เน้นว่าเขาอยากเรียกว่า Treated มากกว่า Coated) เพราะวิธีของ Cleartone นั้นนับว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ในการผลิตสายที่ไม่ใช้การเคลือบแบบปรกติ แต่เป็นการเอาโมเลกุลของสารเคลือบละลายติดเข้าไปในเนื้อเหล็กของสายกีตาร์เลย วิธีนี้เป็นวิธีที่มีข้อดีข้อแรกคือ ทำให้สารเคลือบที่เกาะบนสายกีตาร์นั้นมีความหนาเพียงแค่ 1 micron (นั่นหมายถึงบางกว่าสายเคลือบทั่วๆ ไปเป็นหลายสิบ หลายร้อยเท่า) ดังนั้นความรู้สึกว่าผิวสัมผัสลื่นกว่าปรกตินั้นเป็นอันว่าหมดไป ข้อสอง การดูแลสายแบบ EMP นี้ เมื่อโมเลกุลของสารเคลือบละลายติดกับสายเลยนั้น ทำให้ปัญหาการ Flaked หรือเป็นขุยนั้นหมดไปโดยสิ้นเชิง หมดความรำคาญสำหรับคนที่เล่นกีตาร์แล้วรำคาญจุดที่เป็นขุยเมื่อสัมผัส และข้อสาม เมื่อเคลือบบางมากๆ โทนเสียงกีตาร์ก็จะไม่เปลี่ยน และคงความเป็นธรรมชาติ 100% เหมือนกับสายที่ไม่เคลือบ Joe ยังย้ำว่าสายของเขาเป็นสายที่เรียกว่าเป็นวิวัฒนาการใหม่สำหรับสายกีตาร์ชนิดเคลือบที่มั่นใจว่าแตกต่างอย่างแน่นอน ถึงกระนั้น Joe ก็ยังบอกว่า สายกีตารชนิดเคลือบก็ยังคงเป็นสายกีตาร์ที่ผลิตจากเหล็กและอัลลอย์ดผสมดังนั้นอย่าคาดหวังว่ามันจะไม่เกิดสนิมเลย แต่จะเกิดช้ากว่าปรกติ ขึ้นกับเหตุผลทางชีวภาพของผู้เล่นแต่ละคน

การเปรียบเทียบจำนวนเซ็ตระหว่างสายปรกติ กับ สาย Cleartone Strings

     ก่อนจาก Joe ยังฝากคำคมไว้ให้ฟังอีกหนึ่งประโยคว่า "ยอมรับกันเถอะว่า การเปลี่ยนสายบ่อยๆ มันน่า
เบื่อจะตายไป แต่การทู่ซี้ทนเล่นกีตาร์ที่สายกีตาร์มันตายไปแล้ว ยิ่งหดหู่กว่ามาก ดังนั้นยอมจ่ายแพงขึ้นอีก
นิด ใช้สายเคลือบที่ผลิตมาดีๆ มันช่วยให้เล่นกีตาร์มีความสุขขึ้น ในระยะเวลายาวนานขึ้น และที่สำคัญไม่ต้องเปลี่ยนสายกันบ่อยๆ"


    Cleartone Strings ยังคงเพิ่มความนิยมอย่างต่อเนื่องด้วยการรับเอาสายกีตาร์แบรนด์อคุสติกที่เรียกว่าเป็นระดับเจ้าพ่อของวงการ คือ Martin Guitars มาทำการเคลือบด้วยเทคโนโลยี่ EMP ดังที่เราจะเห็นในตลาดว่าเป็น Martin Strings: Lifespan และยังได้รับความไว้วางใจจากกีตาร์โปร่ง Larivee' ใส่ติดมาจากโรงงานอีกด้วย 


*** มีข้อมูลเพิ่มเติมจากเพื่อนของผมที่ทำปริญญาเอกด้าน Nano Technology ของมหาวิทยาลัยจุฬาอธิบายให้ผมฟังสั้นๆ ไว้้ว่า "Lab ทางผมก็มีอาจารย์ที่จบจาก MIT ทำอยู่ครับ เป็นการเคลือบที่พยายามทำให้ cluster ของอนุภาคสารที่ใช้เคลือบรักษาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางให้อยู่ในระดับนาโนครับ (ส่วนความหนาในการเคลือบจะให้หนาเป็นไมครอนตามที่บทความนี้บอกก็ได้ครับ) การที่สารมีขนาด cluster ในระดับนาโนนี้จะทำให้พื้นที่ผิวของสารที่ใช้เคลือบมีมากขึ้น ดังนั้นการปกป้องก็จะดีขึ้นด้วยครับ แต่ปกติเทคโนโลยี่อันนี้จะใช้ในกระจังหน้าของรถ truck ในอเมริกาครับ โดยจะเคลือสารพวก alloy ไว้ เวลาวิ่งผ่านทะเลทรายหรือพายุหิมะก็จะทำให้การกัดกร่อนของกระจังหน้าลดลงด้วยครับ"  ***

ผม - Joe - ยอด

6 ความคิดเห็น:

  1. ผมเคยใช่อีลิกเซอร์ ครับ ใช้ไปแล้วเป็นขุยจริงๆด้วย

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. :) ก็เป็นข้อจำกัดบางประการของสายแบบ Coated นะครับ เป็นเรื่องที่ต้อง Compensated กัน :) ขอบคุณมากที่แวะเข้ามาอ่านครับ

      ลบ
  2. ลองแล้วครับ นับถึงตอนนี้ก็ซักสองเดือนได้แล้ว สามสายบนยังนิ้งอยู่ครับ ส่วนสามสายล่างผมว่าไปไวนิดนึงครับ ไม่กี่อาทิตย์ก็สนิมแล้วครับ แต่เรื่องโทน ยอมรับว่าดีจริงครับ กินเจ้าสีม่วงขาดเลยครับ

    ตอบลบ
  3. อีกอย่างที่ดีคือ สายนิ่ม ดันสายง่ายมากครับ

    ตอบลบ